จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต 10 ข้อ

เปิดอ่าน: 87,057     บทความน่ารู้ วันที่: 17 ก.พ. 2564     แก้ไข: 26 เม.ย. 2564     เปิดอ่าน: 87,057     บทความน่ารู้
การประกันชีวิต มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ ทั้งในด้านการสร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัวผู้เอาประกัน การระดมเงินออมเพื่อพัฒนาประเทศ เกิดการลงทุนและการจ้างแรงงาน เพิ่มขึ้นเป็นต้น ธุรกิจประกันชีวิตจึงมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก เพื่อเป็นการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้เจริญเติบโต ตัวแทนจะต้องช่วยกันสร้างภาพพจน์และทัศนคติที่ดี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปยอมรับและเชื่อมั่นในธุรกิจด้วยการตระหนักในจรรยาบรรณ หน้าที่ และความรับผิดชอบของตัวแทน เพราะตัวแทนคือคนกลางระหว่างประชาชนทั่วไปหรือผู้เอาประกันกับบริษัท
 

จรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต 10 ข้อ

  1. มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ

  2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

  3. รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัย และของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

  4. เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกัน หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์

  5. ไม่เสนอแนะผู้ขอเอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์

  6. ไม่ลด หรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันภัย

  7. ไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์

  8. ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิต หรือบริษัทอื่น

  9. หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ

  10. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซื่อเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิณาณ

 
 “อาชีวปฏิญาณ” หมายถึง การที่ผู้ประกอบวิชาชีพตัวแทนประกันชีวิตจะต้องปฏิญาณต่อวิชาชีพ กล่าวคือ จะต้องละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตต้นสังกัด