นางวรางค์ ไชยวรรณ กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ TLI เปิดเผยถึงผลประกอบการครึ่งปีแรก (มกราคม-มิถุนายน 2565) ว่า บริษัทฯ มีเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 6,414 ล้านบาท เติบโต 23% เบี้ยประกันภัยรับรวม 40,833.10 ล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 14.2% โดยมีอัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกในทุกช่องทาง ทั้งช่องทางตัวแทนประกันชีวิต ช่องทางพันธมิตร และช่องทางอื่นๆ เช่น Telesales โดยเฉพาะช่องทางพันธมิตรที่เติบโตสูงถึง 85%
เมื่อพิจารณาจากรายได้รวม บริษัทฯ มีรายได้รวม 51,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% กำไรสุทธิ 5,812 ล้านบาท ใกล้เคียงกับครึ่งปีแรกของปี 2564 ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Ratio) ที่ 319% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้ที่ 140%
“บริษัทฯ มีเบี้ยประกันรับใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งโดยปกติของธุรกิจประกันชีวิต เบี้ยประกันรับปีแรก จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกรมธรรม์ใหม่เพิ่มขึ้น แต่จะรับรู้เป็นกำไรในปีต่อๆ ไป ประกอบกับผลรวมของกำไรจากกรมธรรม์ใหม่ที่คาดว่าจะได้รับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาของกรมธรรม์ (Value of New Business : VONB) ของบริษัทฯ ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก” นางวรางค์กล่าว
โดย ณ 30 มิถุนายน 2565 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 533,110 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์ลงทุน 515,741 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่ 3.91% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2564 เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นจะส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจประกันชีวิต
นางวรางค์กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ มากนัก แม้ว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะเพิ่มขึ้น ก็เป็นการให้ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ และสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น โดยบริษัทฯ ไม่มีผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยที่คุ้มครองโควิด-19 ในรูปแบบ “เจอ จ่าย จบ” แต่อย่างใด
สำหรับการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรภายใต้สถานการณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างผลกำไรได้ในระยาว เช่น ประกันชีวิตประเภทควบการลงทุน (Investment-linked Product) ประกันชีวิตแบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล (Participating Product) รวมถึงประกันสุขภาพ (Health Insurance) เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดยเน้นการขยายตลาดทั้งกลุ่มผู้เอาประกันเดิม และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เน้นการขยายตลาดไปสู่ลูกค้าระดับบน หรือกลุ่ม High Net Worth และกลุ่มคนวัยทำงาน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัทฯ และพันธมิตรที่มีแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสอดรับกับวิถีชีวิตใหม่
“บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบครบวงจร เพื่อเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงิน หรือ Life Solutions Provider เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันได้ในลักษณะเฉพาะบุคคล (Personalization) การพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต ทั้งบริการ Health Care Solutions บริการด้านสุขภาพอย่างครอบรอบด้าน และบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน ไทยประกันชีวิต รวมถึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ บริการ ช่องทางจัดจำหน่าย บุคลากร และเทคโนโลยี ตลอดจนการดำเนินงาน เพื่อยกระดับความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และความผันผวนทางเศรษฐกิจ” นางวรางค์กล่าว
เมื่อพิจารณาจากรายได้รวม บริษัทฯ มีรายได้รวม 51,872 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% กำไรสุทธิ 5,812 ล้านบาท ใกล้เคียงกับครึ่งปีแรกของปี 2564 ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Ratio) ที่ 319% ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนดไว้ที่ 140%
“บริษัทฯ มีเบี้ยประกันรับใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งโดยปกติของธุรกิจประกันชีวิต เบี้ยประกันรับปีแรก จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกรมธรรม์ใหม่เพิ่มขึ้น แต่จะรับรู้เป็นกำไรในปีต่อๆ ไป ประกอบกับผลรวมของกำไรจากกรมธรรม์ใหม่ที่คาดว่าจะได้รับตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสิ้นสุดสัญญาของกรมธรรม์ (Value of New Business : VONB) ของบริษัทฯ ในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 3,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยรับปีแรกที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก” นางวรางค์กล่าว
โดย ณ 30 มิถุนายน 2565 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 533,110 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์ลงทุน 515,741 ล้านบาท โดยมีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่ 3.91% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2564 เป็นผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นจะส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจประกันชีวิต
นางวรางค์กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ มากนัก แม้ว่าค่าใช้จ่ายในส่วนของการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจะเพิ่มขึ้น ก็เป็นการให้ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ และสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น โดยบริษัทฯ ไม่มีผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยที่คุ้มครองโควิด-19 ในรูปแบบ “เจอ จ่าย จบ” แต่อย่างใด
สำหรับการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการทำกำไรภายใต้สถานการณ์ของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างผลกำไรได้ในระยาว เช่น ประกันชีวิตประเภทควบการลงทุน (Investment-linked Product) ประกันชีวิตแบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล (Participating Product) รวมถึงประกันสุขภาพ (Health Insurance) เพื่อให้สอดรับกับแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดยเน้นการขยายตลาดทั้งกลุ่มผู้เอาประกันเดิม และกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เน้นการขยายตลาดไปสู่ลูกค้าระดับบน หรือกลุ่ม High Net Worth และกลุ่มคนวัยทำงาน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการขยายช่องทางจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัทฯ และพันธมิตรที่มีแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และสอดรับกับวิถีชีวิตใหม่
“บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบครบวงจร เพื่อเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต การประกันสุขภาพ และการวางแผนทางการเงิน หรือ Life Solutions Provider เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันได้ในลักษณะเฉพาะบุคคล (Personalization) การพัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต ทั้งบริการ Health Care Solutions บริการด้านสุขภาพอย่างครอบรอบด้าน และบริการที่อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน ไทยประกันชีวิต รวมถึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ บริการ ช่องทางจัดจำหน่าย บุคลากร และเทคโนโลยี ตลอดจนการดำเนินงาน เพื่อยกระดับความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และความผันผวนทางเศรษฐกิจ” นางวรางค์กล่าว